ลูกยอ
ยอ ชื่อสามัญ Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่งที่ปลูกหรือภาษา เช่น Noni (จากฮาวาย), Meng kudu (มาเลเซีย), Ach (ฮินดู)
ยอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia L. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
สมุนไพรยอ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยอ แย่ใหญ่ (แม่ฮ่องสอน), ตาเสือ มะตาเสือ (ภาคเหนือ), ยอบ้าน (ภาคกลาง) เป็นต้น
ต้นยอเป็นพืชพื้นเมืองในแถบโพลีนีเซียตอนใต้ (Polynesia) และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ยอบ้านและยอป่า ที่เราพบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือยอบ้าน ยอเป็นไม้ยืนต้น มีใบสีเขียว มีดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะของผลยาวรี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีขาวนวล มีเนื้อนุ่ม ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีน้ำตาล สำหรับรสชาติจะออกรสเผ็ดและมีกลิ่นแรง
ลูกยอจัดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และถูกบรรจุอยู่ในยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยลูกยอสุกเป็นยาชั้นเลิศในการช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร แต่สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผลยอ เพราะจะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์ และอาจทำให้แท้งบุตรได้ !
ลูกยอ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากชนิด โดยลูกยอบดจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม เป็นต้น แต่ถ้าคั้นเอาแต่น้ำลูกยอจะเหลือแต่วิตามินซี นอกจากนี้ลูกยอยังมีสารอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ (แต่ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายจริง ๆ)
สรรพคุณของลูกยอ
- ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียมและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
- ช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ หนังศีรษะและผม
- ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ (น้ําลูกยอ)
- สารสโคโปเลติน (Scopoletin) ในน้ำลูกยอมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่หดตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นปกติ (ลูกยอ, น้ําลูกยอ)
- มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (น้ำสกัดจากใบยอ)
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (น้ำสกัดจากลำต้นยอ, น้ำสกัดจากใบยอ)
- ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยการทำเป็นเครื่องดื่ม ใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมู อย่างแรกให้เลือกลูกยอห่าม นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ (ปกติลูกยอจะมีกลิ่นเหม็น) โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจริง ๆ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน (การย่างจะนอกจากจะช่วยดับกลิ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับตัวยาด้วย จึงช่วยซับกรดและลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ) สำหรับหญ้าแห้วหมูให้เอาส่วนหัวใต้ดินที่เราเรียกว่าหัวแห้วหมู นำไปคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอม เมื่อเสร็จแล้วให้ตั้งไฟต้มน้ำจนเดือดแล้วเอาตัวยาทั้งสองชนิดลงไปต้มพร้อมกัน ใส่น้ำตาลกรวดพอหวาน ทิ้งไว้สักพักแล้วยกลงจากเตา ตัวยาที่ได้นี้จะมีกลิ่นหอม รอจนอุ่นแล้วนำมารับประทาน ส่วนที่เหลือให้กรองเอาแต่น้ำแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วค่อยอุ่นรับประทาน ให้ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้วสังเกตอาการ
- ช่วยแก้วัณโรค ด้วยการใช้ผลหรือใบทำเป็นยาพอก (ลูกยอ, ใบยอ)
- ลูกยอมีสารโปรซีโรนีน (Proxeronine) เมื่อรวมตัวกับเอนไซม์โปรซีโรเนส (Proxeronase) จะได้สารซีโรนีน (Xeronine) ที่ลำไส้ใหญ่ เมื่อดูดซึมกลับสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุลและแข็งแรง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี
- ใช้บำบัดและรักษาโรคมะเร็ง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคติดสุราหรือยาเสพติด (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้ลดอาการแพ้ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคหอบหืด (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคเบาหวาน (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคเส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารต่าง ๆ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคเซลล์เจริญเติบโตนอกมดลูก (Endometriosis) (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่ำ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคเส้นโลหิตตีบ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาโรคโปลิโอ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ใช้รักษาไซนัส (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ช่วยลดปริมาณสารพิษในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เซลล์ในร่างกายอ่อนเยาว์ลง
- ช่วยซ่อมแซมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก
- ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ใหม่ในร่างกายเจริญเติบโตและทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ
- ช่วยแก้กระษัย (ใบยอ, รากยอ)
- ลูกยอมีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาทแบบอ่อน ๆ ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
- ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ลูกยอสด)
- ช่วยให้เจริญอาหาร (ลูกยอ)
- ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (น้ำสกัดจากใบยอ)
- ช่วยทำให้ระบบโลหิตหมุนเวียนดีขึ้น (ลูกยอสด)
- ช่วยบำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้มีสมาธิดีขึ้น
- มีฤทธิ์กล่อมประสาท มีส่วนช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
- ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้หัวสิว
- ใบยอมีวิตามินเอสูงจึงช่วยบำรุงและรักษาสายตา แก้อาการตาบอดตอนกลางคืนได้ (ใบยอ)
- ใช้รักษากุ้งยิง (ไอระเหยจากลูกยอ, ดอกยอ)
- ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (ใบยอ)
- ช่วยแก้ไข้ (ลูกยอสุก)
- ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ (ใบสด)
- ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ (ลูกยอสด)
- ช่วยแก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม (ลูกยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก)
- ใช้รักษาอาการเจ็บหรือแผลตกสะเก็ดรอบปาก หรือในปาก (ลูกยอดิบ)
- ช่วยรักษาอาการปากและเหงือกอักเสบ (ลูกยอสุก)
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ลูกยอสุก)
- ลูกยอสุกมีสารแอสเพอรูโลไซด์ (Asperuloside) ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ลูกยอสุก)
- ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ด้วยการใช้ลูกยอดิบนำไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุก แล้วรินเอาแต่น้ำดื่มเพื่อบรรเทาอาการ หรือจะใช้ลูกยอสุกบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้อาการ (ลูกยอดิบ, สด)
- ช่วยแก้เสมหะ ด้วยการใช้ลูกยอดิบนำไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุก แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม
- สารเซโรโทนิน (Serotonin) ในผลยอช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ลำไส้ดูดซึมได้ง่าย
- ช่วยขับลมในลำไส้ (ลูกยอสด, ลูกยอสุก)
- ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย (ลูกยอสด, ลูกยอสุก)
- ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง (ลูกยอ)
- ช่วยระบายท้อง ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก (ทุกส่วน)
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง (น้ำสกัดจากใบยอ)
- ใบยอใช้ปรุงเป็นอาหารแก้อาการท้องร่วง (ใบยอ)
- ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (น้ำมันสกัดจากลูกยอ)
- ช่วยลดอาการท้องผูกได้
- สารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ในลูกยอช่วยกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวเพิ่มขึ้น จึงช่วยขับของเสียออกจากร่างกายได้มากขึ้น
- ช่วยรักษาอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
- ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (น้ำสกัดจากใบยอ)
- ใช้รักษาอาการอักเสบ ปวดบวม ปวดในข้อ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับตับ
- ช่วยรักษาโรคดีซ่าน (เปลือกต้น)
- แก้อาการไส้เลื่อน (น้ำสกัดจากใบยอ)
- ในลูกยอมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ช่วยขับพยาธิ (ลูกยอแก่)
- ช่วยขับประจำเดือน ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (ลูกยอสด)
- ชาวพื้นเมืองแถบโพลีนีเซีย (Polynesia) ใช้ผลอ่อน ใบ และราก เพื่อรักษาอาการผิดปกติของประจำเดือน
- น้ำคั้นจากรากยอใช้แก้แผลที่มีอาการอักเสบรุนแรง (รากยอ)
- ลูกยอสุกนำมาบดใช้ทาผิวเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- ใช้รักษาบาดแผลและอาการบวม (ลูกยอสุก)
- มีการนำไปทำเป็นน้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ ใช้ทาเพื่อลดอาการอักเสบ (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
- น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอช่วยป้องกันแมลง (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
- น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอใช้ทาช่วยลดการเกิดสิว (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
- ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกรักษาแผลถลอก (ลูกยอ, ใบยอ)
- ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้ตุ่ม ฝีฝักบัว
- ช่วยรักษาแผลพุพอง (ใบยอสด)
- ใบใช้ทำเป็นยาพอกใช้แก้พิษจากการถูกปลาหินต่อย
- ใบใช้ทำเป็นยาพอกใช้แก้กระดูกแตก กล้ามเนื้อแพลง (ใบยอ)
- ลูกยอบนใช้ทาแก้ส้นเท้าแตก
- ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้อาการเคล็ดขัดยอก หรือจะใช้ใบยอทำเป็นยาพอกก็ได้ (ลูกยอ, ใบยอ)
- น้ำคั้นจากใบยอใช้ทาแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า (ใบยอ)
- น้ำคั้นจากใบยอใช้ทาเมื่อมีอาการปวดเนื่องจากโรคเกาต์ (ใบยอ)
- ใบสดมีการนำมาใช้สระผมและกำจัดเหา หรือจะใช้น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอก็ได้ (ใบสด, น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
ประโยชน์ของลูกยอ
- ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ
- ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ
- ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก (เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง)
- นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก
- ปัจจุบันมีการนำลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็น น้ําลูกยอ Noni หรือ น้ําลูกยาโนนิ
- รากยอมีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง
- ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม
- ลูกยอสุกมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารหมู
- มีการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาสัตว์ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
หมายเหตุ : ประโยชน์ของลูกยอบางประการข้างต้นยังอยู่ในระดับการศึกษาเริ่มต้นเท่านั้น และยังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ยังคงต้องรอการพิสูจน์ต่อไป ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณให้มาก
แหล่งอ้างอิง : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.charpa.co.th/articles/noni.asp , เว็บไซต์เมดไทย (MedThai)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น